นักวิจัย มรภ.เชียงราย สร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยบรรจุภัณฑ์ : กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

SDGs:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ และความต้องการเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ของกลุ่วิสาหกิจชุมชนไม้หมอนฟาร์ม เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยศึกษาบริบทชุมชน วิถีชีวิต องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ยังไม่มีบรรจุภัณฑ์เนื่องจากยังเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้หมอนมีผลิตภัณฑ์ภายในชุมชนที่หลากหลาย อาทิเช่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จักสานจากพลาสติก ผลิตภัณฑ์จากผ้า เป็นต้น ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้หมอนฟาร์มที่ได้รับความสนใจของผู้บริโภคคือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรประเภทยาสมุนไพร ซึ่งบรรจุภัณฑ์จากสมุนไพรเดิมมีแค่บรรจุภัณฑ์ชั้นแรก คือบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มสินค้า และยังไม่มีตราสัญลักษณ์ที่เป็นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้หมอนฟาร์ม สมาชิกกลุ่มมีความเห็นว่าอยากให้มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ของกลุ่มและออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นที่สอง เพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มให้เป็นที่รู้จัก และส่งเสริมการขาย โดยสื่อถึงลักษณะเฉพาะภายในชุมชน อยากให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้า (Logo) ตรายี่ห้อ (Brands) ชื่อ – ชนิดของผลิตภัณฑ์ ส่วนผสม ปริมาณหรือน้ำหนักสุทธิ วันที่ผลิต / วันหมดอายุ ข้อควรระวังชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ของผู้ผลิต วิธีใช้ ราคา และรายละเอียดเกี่ยวกับตัวสินค้า ผลการวิจัย จากการสัมภาษณ์ได้ข้อสรุปความต้องของสมาชิกภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้หมอนฟาร์ม โดยสมาชิกภายในกลุ่มมีความต้องการให้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ยาสมุนไพร ประกอบด้วย 1) พิมเสนน้ำ 2) ยาหม่องเขียว 3) ยาดมสมุนไพร 4) ยาหม่องไพร 5) ยาหม่องน้ำ 6) น้ำมันเหลือง 7) น้ำมันเขียว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภค ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้เก็บรวบรวมข้อมูลภายในชุมชน อาทิเช่น สมุนไพรที่เป็นวัตถุดิบในการทำยา เอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่ม โดยนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวคิดในการออกแบบ ผู้วิจัยได้นำลักษณะเด่นของผู้หญิงมาเป็นแนวความคิดในการออกแบบสัญลักษณ์ (Logo) เนื่องจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้หมอนฟาร์มมีสมาชิกทั้งหมดเป็นผู้หญิง โดยสัญลักษณ์เลือกใช้โทนสีของไพร และในส่วนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้เลือกใช้สีจากสมุนไพรที่ใช้ผลิต การใช้สีของสมุนไพรแต่ละชนิดที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อเป็นการสื่อถึงผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ จะทำให้จดจำได้ง่าย ส่วนกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์เลือกลายไทยมาใช้ในการออกแบบเพื่อสื่อถึงภูมิปัญญาไทยเกี่ยวกับการทำยาสมุนไพร สรุปผลการประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ประกอบด้วย บรรจุภัณฑ์มีความเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ รูปแบบบรรจุภัณฑ์มีความสวยงามดึงดูดใจผู้บริโภค ขนาดของฉลากสินค้าเหมาะสมกับบรรจุภัณฑ์ มีรายละเอียดครบถ้วนบนบรรจุภัณฑ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจที่มีต่อภาพรวมของบรรจุภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจมาก (? ? = 4.28, S.D = 0.42) จากผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจ 5 คน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

SDGs: