มรภ.เชียงราย ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มเกษตรฮ่อมลมจอย” ได้รับ“รางวัล Dark sky” มาตรฐาน (มผช.) นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs.)

SDGs:

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย พร้อมด้วยทีมนักวิจัย และวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มเกษตรฮ่อมลมจอย” อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เข้าพบปะและรายงานผลงานดำเนินงาน “โครงการพัฒนาท้องฟ้ามืดเพื่อการท่องเที่ยว” โดยได้รับ “รางวัล Dark sky” จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดี (ฐานะรองผู้อำนวยการคลินิกเทคโนโลยี) เป็นประธานกล่าวต้อนรับ“กลุ่มเกษตรฮ่อมลมจอย” นำโดย นางกิตติยา ไผ่แก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนฮ่อมลมจอย ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ร่วมดำเนิน “โครงการพัฒนาท้องฟ้ามืดเพื่อการท่องเที่ยว” และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน “เทียนหอมจักราศรี” โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน (มผช.) เป็นเขตอนุรักษ์ฟ้ามืดแห่งแรกของจังหวัดเชียงราย โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

มาตรฐาน (มผช.) เป็นมาตรฐานข้อกําหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือเป็นที่ยอมรับและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน(SDGs.) เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดและสอดคล้องกับนโยบาย OTOP

โดยมีคณะทำงานโครงการ “ร้อยรักที่ฮ่อมลมจอย” ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม (หัวหน้าโครงการ “ร้อยรักตี้ฮ่อมลมจอย”) รองศาสตราจารย์ ดร.ฟ้ารุ่ง สุรินา บุญทิศ อาจารย์ ดร.สุรัสวดี นางแล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วลีพรรณ รกิติกุล อาจารย์ ดร.จินดา ศิริตา และ อาจารย์ปิยดา ยศสุนทร โดยการสนับสนุนการดำเนินโครงการจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ทั้งนี้ โครงการ “ร้อยรักตี้ฮ่อมลมจอย” ถือเป็นการการริเริ่ม แนวคิดการผลักดันการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดให้กับเชียงราย และได้รับการต่อยอดสู่งานวิจัยที่หลากหลายของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย

SDGs: