เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มรภ.เชียงราย ร่วมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืด จังหวัดเชียงราย (Chiang Rai Dark Sky Tourism)

SDGs:

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567 เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี) พร้อมด้วยคณะกรรมการและคณะผู้ดำเนินโครงการฯ ร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืด และร่วมการ “เสวนากลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดจังหวัดเชียงราย” ณ วิสาหกิจชุมชนฮ่อมลมจอย ตำบาลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ภายในงานมีการเสวนา โดยมีองค์กรและภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดในอนาคต ประกอบด้วย

🎤คุณอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

🎤คุณวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเชียงราย

🎤คุณประธาน อินทรียงค์ ผู้อำนวยการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

🎤ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ฟ้ารุ่ง สุรินา บุญทิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเป็นผู้ดำเนินรายการ

นอกจากนี้ เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยียังดำเนินการแสดงผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 12 โครงการภายใต้แพลตฟอร์มต่างๆ ได้แก่ NCB SCI และ BCE ที่ดำเนินงานในช่วงปี2566-2567 ได้แก่

🎯โครงการ BCE “กล้วยดีเวียงชัย”

🎯โครงการ BCE “การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสุรากลั่นและน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด GI จังหวัดเชียงราย”

🎯โครงการ BCE “การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านร่องปลายนา ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย”

🎯โครงการ BCE “NATTO”

🎯โครงการ BCE “การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง”

🎯โครงการ BCE “การพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูป 8974 Crispy Rice อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย”

🎯โครงการ SCI “ชุมชนเกษตรชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย”

🎯โครงการ NCB “การพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย ซึ่งการจัดแสดงผลงานได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมชมงาน และก่อให้เกิดการเข้าถึงที่มากขึ้นของกลุ่มผู้ที่สนใจขอรับบริการในอนาคต

นอกจากกิจกรรมดังกล่าวยังมีการจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการท้องถิ่น และการสร้างความประทับใจก่อนปิดงานโดยการสัมผัสการดูดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์พร้อมการรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับดาวโดยมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์

SDGs: